วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 บุคลิกภาพ


ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล แสดงออกโดยพฤติกรรมที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควรลักษณะของแบบแผนพฤติกรรมและแบบแผนการคิดที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะบุคคลในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันไปทุกอย่าง แม้พี่น้องหรือฝาแฝดก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์แต่ละคนมีความพิเศษและความเป็นหนึ่งในตัวขอแต่ละคน (Unique)
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ในการที่จะช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม (โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ 2544) แม้ว่า ความรู้ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การยอมรับของสังคมนั้นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญนั้นคือ บุคลิกภาพ (วรวรรณา จิลลานนท์ 2546) ดังนั้น บุคลิกภาพ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับการประสบความสำเร็จ สถาบันราชภัฎเทพสตรี (2543) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของ คนเก่งว่าจะต้องประกอบด้วย 3 ประการได้แก่
1. เก่งตน หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันโลก ทันคน โดยเริ่มจากพัฒนาตนเองก่อน
2. เก่งคน หมายถึง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3. เก่งงาน หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน
การจำแนกบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพแบบอินโทรเวิท (Introvert) บุคลิกภาพแบบอินโทรเวิทนั้น เมื่อมีความกดดัน ทางอารมณ์หรือเมื่อมีความขัดแย้งในใจ จะมีแนวโน้มที่จะเก็บตัว เก็บความทุกข์ไว้กับตนเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ที่จะต่อสู้กับเหตุการณ์ภายนอก ชอบคิด ชอบทำอะไรเงียบ ๆ อยู่คนเดียว และชอบครุ่นคิดคนเดียว บุคคลที่มีลักษณะอินโทรเวิทมาก โอกาสที่จะมีความผิดปกติทางจิตทางอารมณ์และทางบุคลิกภาพ จะเกิดขึ้นได้มาก

บุคลิกภาพแบบเอกซโทรเวิท (Extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบเอกซโทรเวิท จะมีลักษณะตรงข้ามกับอินโทรเวิท บุคคลประเภทนี้ หากมีความยุ่งยากใจ หรือมีความขัดแย้งในใจ จะไม่เก็บตัวหรือหมกมุ่นอยู่คนเดียว แต่จะหาทางออกโดยการเข้าสังคม นอกจากนี้บุคคลประเภท เอกซโทรเวิทจะเป็นบุคคลที่มีน้ำใจ สนใจต่อผู้คนและสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว สนใจต่อเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกภายนอกมากกว่าจะจดจ่อสนใจเฉพาะเรื่องของตนหรือภายในใจตนเองเท่านั้น มีความสนใจในการเข้าสังคม ชอบสังคมชอบพบปะผู้คนมากกว่าสิ่งของ ชอบสมาคม ชอบอาชีพที่มีการติดต่อกับผู้คน
ลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี
1. ความสามารถในการรับรู้เข้าใจสภาพความจริงอย่างถูกต้อง
คุณสมบัติข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องแรกของผู้มีสุขภาพจิตที่ดีที่สมบูรณ์ การไม่เข้าใจและรับรู้สภาพความจริง หรือการบิดเบือนความจริง มักจะนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตได้บุคคลที่มีสุขาพจิตที่สมบูรณ์ ควรจะมีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริง ทั้งภายนอกและภายในอย่างถูกต้องถ่องแท้ตามสภาพของมัน โดนไม่บิดเบือนความจริง ด้วยความต้องการหรือความรู้สึกส่วนตัว
2. การแสดงอารมณ์มนลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
การมีอารมณ์ลักษณะที่สมเหตุสมผลกับความจริง และเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การสูญเสียบุคคลที่เรารักใคร่ ย่อมทำให้เกิดอารมณ์เศร้าเสียใจ ผู้ที่มีสุขภาพจิตดียังสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทั้งนี้มิได้หมายถึงการอดกลั้นอามรมณ์เกินขนาด จนถึงขั้นไม่ปฏิบัติภารกิจตามปกติประจำได้ การควบคุมอารมณ์มากเกินไป มีผลร้ายต่อจิตใจ
3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
คนเราเกิดมาแล้วไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ แต่จะต้องเริ่มพึ่งพาและเกาะเกี่ยวผู้ใหญ่ตั้งแต่แรกเกิด ตลอดชีวิตของคนเราต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อความสุขส่วนตัว และเพื่อสวัสดิภาพอันดีของมวลมนุษย์ ในแง่สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ทางสังคม เน้นหนักไปในด้านสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับผู้อื่น มากกว่าที่จะเน้นความสัมพันธ์ของมวลมนุษย์ในวงกว้าง

ทั้งนี้หมายถึงความสามารถ 3 ประการ คือ
3.1 ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ สนิทสนมมากกว่าคนรู้จักตามปกติและมีส่วนร่วมในสังคม
3.2 ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ ในการแสวงหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น การได้รับความยกย่องชื่อสียง
3.3 ความสามารถในการสร้างความรักและความนับถือกันและกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวปราศจากความเสแสร้ง และการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือการตักตวงฉวยโอกาส
4. ความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์
การตระหนักถึงคุณค่าของการทำงาน และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่การงานที่ให้คุณประโยชน์ เป็นคุณลักษณะสำคัญอีกด้านหนึ่งของสุขภาพจิตที่ดี คนเราจำเป็นต้องเลือกอาชีพ และประกอบอาชีพการงานที่ตนถนัดเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งการยกย่องนับถือจากผู้อื่น และความเชื่อมั่นและเคารพตนเอง
5. ความรักและความต้องการทางเพศ
นักสุขภาพจิตมีความเห็นพ้องในแง่ที่ว่า ในเรื่องความรัก และความต้องการทางเพศนี้ ความรักใคร่ผูกพันมีความสำคัญยิ่งกว่าความใคร่ทางเพศ ความใคร่เป็นเพียงส่วนประกอบด้านหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เท่านั้น
6. ความสามารถในการพัฒนาตน
เกี่ยวกับตนนี้ มีสิ่งที่ควรเข้าใจ 2 ประการ คือประการแรก ตนมี 2 รูป รูปหนึ่ง คือ ตนที่แท้จริง และ อีกรูปหนึ่ง คือ ตนที่แสดงออกต่อผู้อื่น ในแง่สุขภาพจิตถือว่าความสามารถในการผสมผสานตนทั้ง สองเข้าด้วยกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการปฏิบัติตนตามบทบาทที่สังคมกำหนดนี้ บางครั้งคนเราเกิดความรู้สึกขัดขืน ซึ่งหมายความว่า การที่จะปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อื่น ก็กระทบกระเทือนสวัสดิภาพและความปลอดภัยของตนเองในสังคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น