วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 2 ผลิตภาพ
ความหมายของคำว่าผลิตภาพ
            พจนานุกรม (The Organization for European Economic Cooparetion, OEEC, 1950) ให้คำนิยามว่า เป็นความมีประสิทธิผลของพลังแห่งการผลิต เป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า เช่น วัตถุดิบ แรงงาน ทุน กับผลส่งออก (ผลผลิต) ที่เป็นหน่วยการผลิต ซึ่งอาจสรุปความได้ว่า ผลิตภาพเป็นการเปรียบเทียบปัจจัยนำเข้ากับผลผลิตหรือผลส่งออก
การวัดผลิตภาพ
การวัดเบื้องต้น วัดที่ปัจจัยนำเข้าและผลส่งออก
            1.1 ขั้นตอนแรกของการวัดผลิตภาพ คือ วัดผลส่งออกหรือผลผลิต
            1.2 ขั้นต่อมา คือ ระบุปัจจัยนำเข้าทั้งหลายแล้ววัด
ผลิตภาพอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ผลิตภาพแรงงาน กับผลิตภาพทุน
            ผลิตภาพแรงงาน เป็นอัตราส่วนของผลผลิตจากจำนวนแรงงานที่ใช้ไป เนื่องจากแรงงานเป็นมูลค่าส่วนใหญ่ของสินค้า ประกอบกับข้อมูลด้านค่าแรงมีพร้อมให้หาได้ง่ายกว่าปัจจัยนำเข้าอื่นๆ จึงใช้แรงงานเป็นอัตราส่วนในการคิดผลิตภาพ
            ผลิตภาพทุน เป็นอัตราส่วนของมูลค่าผลผลิต นั่นคือ ยิ่งเพิ่มปัจจัยที่นำเข้าเข้าไป จะยิ่งส่งผลผลิตส่งออกต่อหน่วยลดน้อยลง เพื่อรักษาผลส่งออกให้เติบโตยั่งยืน จึงจำเป็นต้องเพิ่มผลิตภาพองค์รวมต่อทุนที่ได้ลงไป
ตัวชี้วัดผลิตภาพในระดับต่างๆ
1.ระดับส่วนตัว ที่หน้างานจะใช้ตัวชี้วัดทางกายภาพ เป็นตัวเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน
2.ระดับบริษัท อัตราส่วนทางกายภาพก็ยังคงเป็นตัววัดผลการปฏิบัติงาน
3.ระดับประเทศ เป็นการวัดระดับภาค คือ วัดระดับอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจ
การประเมินผลิตภาพ
1.ระดับผลิตภาพ
2. อัตราเติบโต

กระบวนการผลิตของผลิตภาพ
1.แรงงาน
2.เครื่องจักรอุปกรณ์
3.วัตถุดิบ
4.เงิน
5.การบริหารจัดการ
6.เทคนิควิธีทำงาน




            ต่อไปนี้ เป็นการกล่าวถึงการเกิดผลิตภาพ แหล่งแห่งการเติบโตของผลิตภาพ ความเข้มของทุนและผลิตภาพองค์รวม
1.การเกิดผลิตภาพ
จากการบริหารจัดการให้วัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์ ประสิทธิผลของระบบ ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน อันได้แก่ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ มาเป็นปัจจัยนำเข้าแล้วเปลี่ยนรูปแปลงโฉมเป็นผลส่งออกหรือผลผลิต
2.แหล่งแห่งการเติบโตของผลิตภาพ
การวัดผลิตภาพโดยผลผลิตต่อคนงาน ซึ่งพิจารณาจากจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ให้แก่คนงาน และ คุณภาพของปัจจัยนำเข้ากับทั้งประสิทธิภาพในการใช้ ซึ่งวัดโดยผลิตภาพองค์รวม ดังนั้นสมการ การเติบโตของผลิตภาพจึงเป็นดังนี้





3.ความเข้มของทุน
การเพิ่มปริมาณของทุนให้แก่คนงานจะปรับปรุงขีดความสามารถในการผลิต
4.ผลิตภาพองค์รวม
4.1 คุณภาพของแรงงาน ยกระดับความรู้ ทักษะ วินัย แรงพลังส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทีมเวอร์คอย่างต่อเนื่อง
4.2 คุณภาพของทุนและระบบงาน มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ โดยการบริหารงานที่ดีขึ้น 
4.3 คุณภาพของแรงงาน คุณภาพของทุนและระบบ ก่อให้เกิดคุณภาพปัจจัยนำเข้าแก่การปรับปรุงผลิตภาพ ผลลัพธ์ที่มองเห็นได้ทันทีของคุณภาพปัจจัยนำเข้าก็คือ สินค้าหรือบริการที่คุณภาพดี
5.อุปสงค์
ความเข้มของทุนและผลิตภาพองค์รวม เป็นตัวกำหนดด้านอุปทานของการเติบโตของผลิตภาพ นอกจากนั้น ผลิตภาพยังอยู่ในอิทธิพลของขนาดของอุปสงค์อีกด้วย อุปสงค์ด้านในประเทศมีการลงทุน การบริโภค ด้านภายนอกมีการส่งออกของสินค้าและมีบริการไปต่างประเทศ
บทสรุป
            ผลิตภาพ เป็นขีดความสามารถที่ผลิตได้ผลผลิตมากกว่าปัจจัยนำเข้า เป็นพลังให้เศรษฐกิจของชาติเจริญเติบโต การทำงานที่มีประสิทธิผล คือ ทำให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การประหยัดทรัพยากร การปรับปรุงประสิทธิภาพ หากต้องการความเจริญก้าวหน้า ทุกคนมีมาตรฐานในการครองชีพสูงขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น