วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 เจตคติ



ความหมายของคำว่า เจตคติ
นิยามคำว่า เจตคติ เป็นวิธีสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่อคนอื่น เมื่อมองด้านบวกและคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเผชิญความสำเร็จ จะส่งเจตคติทางบวกออกไปคนรับก็จะตอบรับอย่างชื่นชม เมื่อมองด้านลบและคาดการณ์เลวร้าย ก็มักจะส่งเจตคติด้านลบออกไป คนรับจะพยายามหลีกเลี่ยง เจตคติเป็นสิ่งที่อยู่ในสมอง เจตคติเป็นชุดความคิด เป็นทางที่คนมองสิ่งต่างๆทางความคิด
องค์ประกอบ
1.      ด้านความรู้ความเข้าใจ เป็นความรู้หรือความเชื่อมั่นอันเป็นผลมาจากประสบการณ์
2.      ด้านอารมณ์และความรู้สึก เป็นการแสดงความรู้สึกสภาพอารมณ์ ความนึกคิด หรือความรู้สึกอันได้จากการประเมินสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
3.      ด้านพฤติกรรม หมายถึง แนวโน้มของคนที่จะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนชอบหรือไม่ชอบ
การปรับเจตคติ
วิธีปรับเจตคติ 1 แผ่นพลิก
วิธีปรับเจตคติ 2 เล่นด้านชนะ
วิธีปรับเจตคติ 3 การคงความเรียบง่าย
วิธีปรับเจตคติ 4 สร้างเกาะกำบัง
วิธีปรับเจตคติ 5 ให้เจตคติด้านบวกแก่คนอื่น
วิธีปรับเจตคติ 6 มองดูตัวเองดีขึ้น
วิธีปรับเจตคติ 7 ยอมรับสภาพร่างกายมีส่วนเชื่อม
วิธีปรับเจตคติ 8 กระจ่างชัดภารกิจตน

การมองภาพ
            ใช้ภาพจริง ภาพถ่าย หรือสัญลักษณ์ หรือภาพในความคิดให้เห็นภาพรางวัลแห่งความสำเร็จ ความสำเร็จตามเป้าหมาย หรือภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริง อาจใช้ภาพถ่ายจากนิตยาสาร หนังสือพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ บรรยายสิ่งที่คุณต้องการได้ดำรงตำแหน่งที่นั้น   
ความหมายของค่านิยม
                ค่านิยม หมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ เช่น ชาวอเมริกันถือว่า ประชาธิปไตยมีค่าสูงสุดควรแก่การนิยมควรรักษาไว้ด้วยชีวิต อเมริกันรักอิสระ เสรีภาพ และความก้าวหน้าในการงานเป็นต้น ส่วนค่านิยมของคนไทยหรือคนตะวันออกโดยทั่วไปนั้นแตกต่างจากค่านิยมในอเมริกันหรือคนตะวันตก เช่น คนไทยถือว่าความสงบสุขทางจิตใจและการทำบุญให้ทานเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา การเคารพเชื่อฟังบิดามารดาและการกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง
ค่านิยมนั้น เป็นความคิดหรือความเชื่อที่บุคคลพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่า จึงนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
กระบวนการเกิดและพัฒนาการของค่านิยม
๑. เป็นค่านิยมที่บุคคลเลือกหรือยอมรับ โดยไม่ได้ถูกบังคับบุคคลมีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือกหรือยอมรับค่านิยมใดก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมน่าปฏิบัติ
๒. เป็นค่านิยมที่บุคคลมีโอกาสเลือกจากตัวเลือกหลายๆ ตัว ไม่ใช่เป็นเพราะมีตัวเลือกจำกัดเพียงสิ่งเดียว จึงทำให้ต้องยอมรับโดยปริยาย
๓. เป็นค่านิยมที่ได้รับการกลั่นกรองพิจารณาอย่างรอบคอบจากบุคคลตลอดจนมีการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของตัวเลือกหลายๆ ตัว เมื่อเห็นว่าตัวเลือกใดดีที่สุดเหมาะสมที่สุดหรือมีเหตุผลในการสร้างความพอใจได้มากที่สุดก็จะเลือกตัวเลือกนั้น
๔. เป็นค่านิยมที่บุคคลยกย่อง เทิดทูนและภูมิใจ
๕. เป็นค่านิยมที่บุคคลสามารถยอมรับอย่างเปิดเผยและพร้อมที่จะสนับสนุนค่านิยมที่ตนยอมรับ
๖. เป็นค่านิยมที่บุคคลยึดถือปฏิบัติจริงไม่ใช่เพียงคำพุดเท่านั้น
๗. เป็นค่านิยมที่บุคคลปฏิบัติอยู่เสมอๆ บ่อยๆ ไม่ใช่ปฏิบัติเป็นครั้งคราว

ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ( Organizational culture ) หมายถึง แนวทางที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันในองค์การ ซึ่งวัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ หรือหมายถึงโครงร่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive framework) ซึ่งจะมีลักษณะ                 
1.      บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม (set of values) ซึ่งบุคคลที่อยู่ในองค์การนั้นยึดถือร่วมกัน
2.       ค่านิยมององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อสมมุติพื้นฐาน (basic assumption)
3.      ลักษณะหนึ่งที่ทุกนิยามค่านิยมมีเหมือนกัน ก็คือ การใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อบ่งบอกความหมายของค่านิยมที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การนั้นๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น