บทที่
10 การพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
ความหมายของปัญหา
ความหมายของคำว่า ปัญหา
สำหรับแต่ละคน ล้วนแล้วแต่มีนิยามแตกต่างกันไป
แต่ในการศึกษาเรื่องของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้น เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจตรงกัน
จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนิยามความหมายออกมาให้เหมือนกัน ซึ่งจะได้ความหมายดังนี้
“ปัญหา คือ
ช่องว่าง (Gap)
ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่
กับ สิ่งที่คาดหวัง”
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหา
1. ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
2. ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร
3. ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเล็กน้อยหรือเป็นปัญหาวิกฤตหรือไม่
4. ต้องการอะไรในการแก้ปัญหานั้น
กระบวนการในการแก้ปัญหา
1. พบปัญหา
2. หาสาเหตุของปัญหา
3. หาวิธีการแก้ปัญหา
4. ตัดสินใจว่าวิธีใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด
5. ลงมือแก้ปัญหา
หลักการในการแก้ปัญหา
1. ทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทางแก้ไข
2. ช่วยกันค้น ช่วยกันเปิดเผย
3. คนที่ค้นพบปัญหาจะได้รับคำชมเชย
4. เมื่อรู้วิธีการแก้ปัญหาแล้วทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข
5. กล้าพูดว่า มีปัญหา ยอมรับ
แล้วหาทางแก้ไข
6. ยอมรับปัญหา
7. ไม่โทษหน่วยงานอื่น
8. ตอบสนองหน่วยงานถัดไป
9. อาศัยข้อมูลข้อเท็จจริง
10. ทำตามวงจรเดมิ่ง
11. เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ทำเป็นมาตรฐาน
12. หาทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
วงจร
PDCA เพื่อการบรรลุผล
ปรับปรุง แก้ไข
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน
แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย
Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม
และต่อมาวงจร PDCA
ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่
ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย
1) Plan คือ การวางแผน
2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน
3) Check คือ การตรวจสอบ
4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่
ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ
กิจกรรมในการแก้ไขพิชิตปัญหาในที่ทำงาน
1. เหตุผลของการทำกิจกรรมข้อเสนอแนะ
และประโยชน์
2. องค์ประกอบแห่งความสำเร็จ
3. คนธรรมดาอาจชนะผู้อัจฉริยะ
4. วิธีการปฏิบัติ
5. วิธีวางแผนทำกิจกรรมข้อเสนอแนะ
6. คล้องรวมเข้ากับกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ
7. จะลงมือดำเนินการอย่างไร
8. ทำอย่างไรให้กิจกรรมข้อเสนอแนะเดินก้าวต่อไป
9. สรุป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น