วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1 ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง


ความหมายของการพัฒนาตน
                การพัฒนาตนจึงเป็นการปรับปรุงตนเองให้เข้าได้กับสถานการณ์สภาพแวดล้อมและการทำงาน สามารถปฏิบัติงานได้ตอบรับกับความต้องการขององค์การ ของลูกค้า คนที่ก้าวหน้ามักเกิดจากการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
การรู้จักตนเอง
1.ความแตกต่างของคน
                คนเราแตกต่างกันเนื่องจากประการแรกพันธุกรรม ประการที่สองคือสภาพแวดล้อม นอกจากนั้นกฎเกณฑ์สังคมก็ควบคุมพฤติกรรมของคน การควบคุมทางจิตใจจึงทำให้คนแตกต่างกัน
2.การพัฒนาตนเกิดจากการรู้จักตนเอง
                หมายถึง การเข้าใจตนเอง อุปนิสัยใจคอ มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
3.ความสมดุลระหว่างชีวิต การงานและสังคม
                3.1 สุขภาพและร่างกาย
                3.2 สติปัญญาและการศึกษา
3.3 การเงินและอาชีพ
3.4 ครอบครัวและบ้านเรือน
3.5 จริยธรรมและจิตวิญญาณ
3.6 สังคมและวัฒนธรรม
1. วิธีรู้จักตนเอง
การรู้จักตนเอง มีเทคนิควิธีการหลายอย่าง เช่น
                1.1 การวิเคราะห์เหตุการณ์
                1.2 ตอบข้อคำถาม
                1.3 หาการสะท้อนความคิด
2. เส้นทางอาชีพ
                การรู้เส้นทาง ช่วยให้เดินทางรวดเร็ว ถูกต้อง เส้นทางอาชีพก็ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพมีความเจริญก้าวหน้า ดังที่ ฮันนี่ (Honey, 1997, p. 206) กล่าวว่า เส้นทางอาชีพ คือ โอกาสในการเจริญเติบโตในงานอาชีพ
                การรู้เส้นทางอาชีพว่าจะเจริญเติบโตไปได้ในทางใด ทำให้มีการวางแผนชีวิตของตนเองได้ ทำให้มีการตั้งเป้าหมายให้ไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดที่ตนต้องการเป็น การรู้เส้นทางอาชีพจึงเป็นทางพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่งเปรียบเสมือนรู้จักแผนที่เพื่อเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง
แนวคิดและหลักการพัฒนาตน
                ในการพัฒนาตน มีแนวคิดและหลักการในการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และความนึกคิดหลากหลาย จึงควรพินิจตามความเหมาะสมกับความพยายามทุกวิถีทางในการสร้างประสบการณ์ของตน
1.       ความจำเป็นห้าด้านในการพัฒนาตน
1.1 ด้านความรู้
1.2 ด้านวิธีทำ
1.3ความสามารถด้านพุทธิศึกษา-สติปัญญา
1.4 ด้านทักษะสัมพันธ์กับผู้คน 
1.5 ด้านเจตคติ
2. ความรู้และทักษะในการทำงาน
                2.1 ทักษะทางเทคนิคและวิชาชีพ
                2.2 ทักษะด้านองค์การ
                2.3 ทักษะส่วนตัว
                ทักษะด้านองค์การ จะใช้ balanced  scorecard เป็นมาตราวัดความมีประสิทธิผลของทักษะที่องค์การต้องการเพียงใด โดยดูจากสี่มุมมอง ดังนี้
                1. การบริการลูกค้าและการตลาด
                2. การตระหนักทางการเงิน
                3. การมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                4. การบริหารคน
3. พัฒนาตนตามงานคุณภาพเจ็ดประการ
                3.1 ความสามารถปฏิบัติงานโดยไม่ต้องพึ่งพิงสายการบังคับบัญชา
3.2 ความสามารถในการแข่งขัน
3.3 มีมาตรฐานจริยธรรมสูง
3.4 ลดน้อมถ่อมตน
3.5 มีการมุ่งเน้นที่กระบวนการ
3.6 มีความสามารถทั้งวิชาการและปฏิบัติการ
3.7 ความสามารถได้รับผลลัพธ์จากความพึงพอใจ
4. ทักษะการประกอบการแปดประการ
                กริดแฮมและไทเลอร์ (Guirdham & Tyler, 1992) ได้เสนอทักษะการประกอบการที่ถ่ายโยงกันได้ ประกอบด้วย
4.1 การจัดการตนเอง
4.2 การเรียนรู้
4.3 รับและใช้สารสนเทศคุณภาพดี
4.4 วางแผนและตัดสินใจ
4.5 รับรู้ สร้างสรรค์และประเมินโอกาส
4.6 การปฏิบัติงาน
4.7 การเปลี่ยนแปลง
4.8 ทักษะระหว่างบุคคล
5. การพัฒนาตนสามสิบรายการ
5.1 อนามัยดี
5.2 มีใจสงบ
5.3 มีใจเบิกบาน
5.4 ตั้งจุดมุ่งหวังของชีวิต
5.5 เป็นผู้มีความหวัง
5.6 มีพลัง
5.7 มีหัวใจเข้มแข็ง
5.8 ตรงต่อเวลา
5.9 เป็นคนขยัน
5.10 เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
5.11 มีสมาธิ
5.12 มีความกล้าหาญ
5.13 มีเทคนิควิธีการในการทำงาน
5.14 มีระเบียบ
5.15 ต้องมีความไตร่ตรอง
5.16 เป็นคนละเอียดอ่อน
5.17 เป็นคนหาเหตุผลให้ถูกต้อง
5.18 รู้จักวินิจฉัยสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง
5.19 มีความเชื่อมั่นในตนเอง
5.20 ความรวดเร็ว
5.21 ต้องรู้จักสังเกต
5.22 มีสัมปชัญญะ
5.23 มองคนอื่นในแง่ดี
5.24 ทำตนให้เป็นที่ต้องใจของผู้อื่น
5.25 รู้จักกาลเทศะ
5.26 มีปฏิภาณ
5.27 ทำตนให้คนอื่นเชื่อถือได้
5.28 มีความเป็นผู้ดี
5.29 มีความมีสง่า
5.30 เป็นผู้มีความรู้
6. ยี่สิบเอ็ดคติเพื่อพัฒนาตน
6.1สร้างความคิดด้านบวก
6.2ตั้งเป้าหมายที่แน่ชัด
6.3เชื่อในตนเองและคนอื่น
6.4ไม่เห็นแก่ตัว
6.5แบ่งเวลาอย่างเหมาะสม
6.6ปล่อยเวลาให้คลี่คลายเอง
6.7ให้ เวลานอก
6.8พักผ่อน
6.9ใช้การเห็นภาพเพื่อความคิดที่แน่วแน่
6.10สังเกต
6.11ร่วมมือกัน
6.12พิจารณา
6.13คิดก่อนทำ
6.14ทำสิ่งที่ถูก
6.15ลดการพึ่งยา สารกระตุ้น
6.16เชื่อในอำนาจ
6.17ออกกำลังกาย
6.18มุ่งหมายใฝ่สูง
6.19รักษาท่าทีที่ยืดหยุ่น
6.20ดัดแปลงแผนอย่างเปิดเผย
6.21เป็นธรรม
7. การพัฒนาความรู้และทักษะ
8. การรับรู้ตนเองจากทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี
                ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี เป็นทฤษฎีที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของบุคคลที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
4.รายละเอียดสำคัญของทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี

ตนเองรู้                                   ตนเองไม่รู้
1.บริเวณเปิดเผย
(Open Area)
2. บริเวณจุดบอด
(Bllnd Area)
3. บริเวณซ่อนเร้น
(Hidden Area)
4.บริเวณมืด
(Unknown Area)





1.บริเวณเปิดเผย หมายถึง พฤติกรรมที่ทั้งตนเองและผู้อื่นรับรู้เหมือนกัน
2.บริเวณบอด หมายถึง พฤติกรรมที่ตนเองแสดงออกมาแล้วคนอื่นรู้ แต่ตัวเองไม่รู้
3.บริเวณซ่อนเร้น หมายถึง พฤติกรรมที่ตนเองรู้ แต่ผู้อื่นไม่รู้ เพราะเจ้าตัวไม่ต้องการเปิดเผยให้ใครรู้
4.บริเวณมืด หมายถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งตนเองไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ พฤติกรรมเหล่านี้ต้องรอเวลาและโอกาสที่จะแสดงตัว
รู้จักกันมากขึ้น
                เป็นการทำความรู้จักกันและกันโดยสอบถามข้อมูลของเพื่อน โดยทำความรู้จักทั้งตัวเราเองและเพื่อนของเราโดยใช้การให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองแก่เพื่อน และเพื่อนก็ให้ข้อมูลกับเราเพื่อทำความรู้จักกันเบื้องต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น