วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 10 การพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน



ความหมายของปัญหา
ความหมายของคำว่า ปัญหา สำหรับแต่ละคน ล้วนแล้วแต่มีนิยามแตกต่างกันไป แต่ในการศึกษาเรื่องของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้น เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจตรงกัน จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนิยามความหมายออกมาให้เหมือนกัน ซึ่งจะได้ความหมายดังนี้
ปัญหา คือ ช่องว่าง (Gap) ระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ กับ สิ่งที่คาดหวัง
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหา
1.      ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
2.      ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร
3.      ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาเล็กน้อยหรือเป็นปัญหาวิกฤตหรือไม่
4.      ต้องการอะไรในการแก้ปัญหานั้น
กระบวนการในการแก้ปัญหา
1.      พบปัญหา
2.      หาสาเหตุของปัญหา
3.      หาวิธีการแก้ปัญหา
4.      ตัดสินใจว่าวิธีใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด
5.      ลงมือแก้ปัญหา
หลักการในการแก้ปัญหา
1.      ทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทางแก้ไข
2.      ช่วยกันค้น ช่วยกันเปิดเผย
3.      คนที่ค้นพบปัญหาจะได้รับคำชมเชย
4.      เมื่อรู้วิธีการแก้ปัญหาแล้วทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข
5.      กล้าพูดว่า มีปัญหา ยอมรับ แล้วหาทางแก้ไข
6.      ยอมรับปัญหา
7.      ไม่โทษหน่วยงานอื่น
8.      ตอบสนองหน่วยงานถัดไป
9.      อาศัยข้อมูลข้อเท็จจริง
10.  ทำตามวงจรเดมิ่ง
11.  เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ทำเป็นมาตรฐาน
12.  หาทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

วงจร PDCA เพื่อการบรรลุผล ปรับปรุง แก้ไข
PDCA เป็นแนวคิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่การวางแผน แต่แนวคิดนี้เน้นให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวคิด PDCA ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Walter Shewhart ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรม และต่อมาวงจร PDCA ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มากขึ้น เมื่อปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพ อย่าง W.Edwards Deming ได้นำมาเผยแพร่ ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ วงจรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “Deming Cycle”
โครงสร้างของ PDCA ประกอบด้วย
1) Plan คือ การวางแผน
2) DO คือ การปฏิบัติตามแผน
3) Check คือ การตรวจสอบ
4) Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม หรือ การจัดทำมาตรฐานใหม่ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ



กิจกรรมในการแก้ไขพิชิตปัญหาในที่ทำงาน
1.      เหตุผลของการทำกิจกรรมข้อเสนอแนะ และประโยชน์
2.      องค์ประกอบแห่งความสำเร็จ
3.      คนธรรมดาอาจชนะผู้อัจฉริยะ
4.      วิธีการปฏิบัติ
5.      วิธีวางแผนทำกิจกรรมข้อเสนอแนะ
6.      คล้องรวมเข้ากับกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ
7.      จะลงมือดำเนินการอย่างไร
8.      ทำอย่างไรให้กิจกรรมข้อเสนอแนะเดินก้าวต่อไป

9.      สรุป
บทที่ 9 ความต้องการของมนุษย์



ความหมายของการจูงใจ
แรงจูงใจ(Motives) คือ แรงผลักดันที่เกิดจากความต้องการมากระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางหรือเป้าหมาย
แรงจูงใจ มีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
2.เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม
3.เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายามในการแสดงพฤติกรรม
องค์ประกอบสำคัญของแรงจูงใจที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม คือ ความต้องการ (Needs) และ แรงขับ (Drives)
ความต้องการ หมายถึง สภาวะความขาดแคลนของอินทรีย์ โดยเฉพาะความขาดแคลนทางด้านกายภาพ เช่น การขาดอาหารหรือขาดน้ำ เป็นต้น
แรงขับ หมายถึง สภาวะของการถูกกระตุ้นที่มาจากความต้องการ เช่น การขาดอาหารก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือด ทำให้เกิดสภาวะแรงขับ (คือ ความหิว) ขึ้น ซึ่งบุคคลจะพยายามลดแรงขับโดยการกระทำพฤติกรรมบางอย่าง ในกรณีนี้คือ การหาอาหารมารับประทาน การที่จะเข้าใจความหมายของแรงจูงใจได้ดีขึ้น ควรทำความเข้าใจคำศัพท์ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ

ทฤษฎีอนามัย-แรงจูงใจของเฮอร์สเบอร์ก,เมอร์เรย์,แมคลิลแลนด์
ทฤษฏีสองปัจจัยเฮอร์ซเบอร์กและคณะ (Frederick Herzberg et al.)ได้เสนอทฤษฏีปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย (Motivation – Hygiene Theory)หรือทฤษฏีสองปัจจัย (Two – Factor Theory )ซึ่งทฤษฏีมีลักษณะใกล้เคียงกับทฤษฏี Maslow ที่มุ่งเน้นบรรยากาศการทำงานและบรรยากาศสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฎิบัติการมีความพึงพอใจในการปฏิบัติการและมีกำลังใจปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยเป็นเครื่องกระตุ้นจูงใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (Herzberg, Meaner และ Snyderman, 1993 : 5983 อ้างถึงใน รัชดา สุทธิวรวุฒิกุล 2544 : 3132)คือ
1) ปัจจัยจูงใจ (Motivation factors)เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ปฏิบัติการเกิดความพอใจในการทำงาน อันเนื่องมาจากมีแรงจูงใจภายในที่เกิดจากการทำงานและเกี่ยวข้องกับเรื่องของงานโดยตรง เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนาเจตคติทางด้านบวกและการจูงใจที่แท้จริง ซึ่งประกอบด้วย
1.1) ความสำเร็จของงาน (Achievement) หมายถึง การที่บุคลากรสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ รู้จักการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ครั้นผลงานสำเร็จจึงเกิดความพึงพอใจในผลงานนั้นอย่างยิ่ง
1.2) การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition)หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา จากเพื่อน จากผู้มาขอคำปรึกษา หรือจากบุคคลในหน่วยงานการยอมรับนับถือนี้อาจอยู่ในรูปแบบของการยกย่องชมเชย แสดงความยินดี การให้กำลังใจหรือการแสดงออกอื่นใดที่ทำให้เห็นถึงการยอมรับความสามารถ
1.3) ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (Work itself) หมายถึง งานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัยความริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ต้องลงมือทำ หรืองานที่มีลักษณะทำตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพังเพียงผู้เดียว
1.4) ความรับผิดชอบ (Responsibility)หมายถึงความพึงพอใจความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ และมีอำนาจรับผิดชอบอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมีการตรวจตราหรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
1.5)ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน (Advancement)หมายถึง ได้รับเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคลากรในองค์การ มีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมหรือได้รับการฝึกอบรม
2) ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยอนามัย (Hygiene factor)หรือ ปัจจัยบำรุงรักษา (Maintenance factor) เป็นปัจจัยป้องกันไม่ให้เกิดความไม่พอใจและการปฏิบัติงานที่ไม่ดีเป็นแรงจูงใจภายนอกที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมของการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย
2.1) นโยบายและการบริหาร (Company policy and administration)หมายถึง การจัดและบริหารองค์การ การติดต่อสื่อสารภายในองค์การ และมีการส่วนร่วมกำหนดนโยบาย และเป้าหมายของสถานศึกษา
2.2) โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of growth)นอกจากจะหมายถึง การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงานแล้ว ยังหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลสามารถได้รับความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพ
2.3)ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal relation)หมายถึงความสัมพันธ์กับผู้บริหาร ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็น กิริยา ท่าทาง หรือวาจา ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีต่อกันสามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.4) เงินเดือน (Salary)หมายถึง เงินเดือนและการเลือกขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้นรวมไปถึงผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ ที่องค์การจักเป็นที่พอใจของบุคคลที่ทำงาน
2.5) สถานการณ์อาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือทางสังคม มีเกียรติและศักดิ์ศรี
2.6) ชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว (Factors in personal life)หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีอันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่ เช่น การที่บุคคลต้องย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ซึ่งห่างห่างไกลจากครอบครัวทำให้เขาไม่มีความสุข และไม่พอใจในการทำงานในที่แบบใหม่
2.7) ความมั่นคงในงาน (Job security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคงในการทำงาน และยั่งยืนของอาชีพหรือความมั่นคงขององค์การ
2.8)สภาพการทำงาน (Working condition) สภาพทางกายภาพของการทำงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงทำงาน รวมทั้งลักษณะสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
2.9)วิธีการบังคับบัญชา (Supervision  technical) หมายถึง ความสามารถหรือความยุติธรรมของผู้บริหารในการจัดการ
เดวิน แมคเคลแลนด์ (DavidMaClelland, 1961 : 43 อ้างถึงในรัชดา  สุทธิวรวุฒิกุล, 2544 : 28) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งจูงใจของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ ผลของการศึกษาสรุปได้ว่าบุคลากรมีความต้องการอยู่ 3 ประการ คือ
1) ความต้องการสัมฤทธิผล เป็นความปรารถนาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้สำเร็จล่วงหน้าได้ด้วยดี พยายามเอาชนะอุปสรรคต่างๆ มีความสบายใจเมื่อประสบผลสำเร็จ มีความวิตกกังวลเมื่อไม่ประสบความไม่สำเร็จ
2) ความต้องการความผูกพัน เป็นความต้องการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม ต้องการความเป็นมิตรและสัมพันธภาพที่อบอุ่น

                        3) ความต้องการมีอำนาจบารมี ได้แก่ ความต้องการรับผิดชอบบุคคลอื่นต้องการควบคุมและให้คุณโทษแก่ผู้อื่นได้
บทที่ 8 การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง


แนวคิดของความเชื่อมั่นในตนเอง
รู้จักตนเอง คนเรานี้แปลก บางคนรักที่จะเรียนรู้คนอื่น อยากรู้อยากเห็นคนอื่นว่าเป็นยังไงบ้าง คนบางคนชื่นชอบดาราบางคนมากขนาดที่รู้จักดาราคนนั้นได้ดีละเอียดยิบ ชนิดที่ว่าดาราผู้นั้นยังไม่รู้จักตนเองได้ดีเท่าคนๆ นี้ ถ้าเราใช้นิสัยนั้นมาเรียนรู้ตนเองแทนที่จะไปสนใจคนอื่น รับรองได้ว่า เราจะรู้ว่า เรานั้น เป็นอย่างไร มีจุดดีจุดด้อยอย่างไรบ้าง เพื่อพยายามหาทางแก้ไขข้อบกพร่อง และ ส่งเสริมจุดเด่นของเรา การรู้จักตนเอง ไม่เพียงรู้จักแต่นิสัยที่แท้จริงของเรา แต่เราต้องรู้ให้ลึกขนาดที่ว่า อะไรที่ทำให้เรารู้สึกดี อะไรที่ทำให้เรารู้สึกแย่ และ อวัยวะส่วนไหนของเราที่ดูดี และ อวัยวะส่วนไหนที่เราไม่ค่อยมั่นใจ เพราะอะไร
ถ้าเราเรียนรู้ตนเอง และ เข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ราจะรัก และ พยายามเป็นตัวของตนเอง ในรูปแบบที่เราชื่นชอบอย่างแท้จริง
ความกล้าหาญ รู้จักกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งต่างๆที่ทำ กล้าที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง และ กล้าที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ รวมถึง ความกล้าในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น กล้าพูด กล้าทำ และ กล้าคิด เผอิญอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต กล้ารับผิดชอบหน้าที่การงาน และ ทำให้ดีที่สุด ถ้าฝึกได้ดังนี้ เราเองจะภูมิใจในตนเอง ที่ละนิด และ ในที่สุด เราจะเคารพตัวเราเอง และ เรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในตนเอง
เพิ่มพูนทักษะที่จำเป็น อันนี้เป็นผลพ่วงจากการรู้จักตนเอง ว่า อะไรที่เป็นจุดด้อยของเรา และ เราต้องเรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติม เพื่อแก้ไข และ สร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง ก็จะทำให้เราเรียนรู้ที่จะแก้ไข และ สุดท้าย เราก็จะมั่นใจในตนเอง และ ยังทำให้เราภูมิใจในตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เราจำเป็นต้องศึกษา หาความรู้ ฝึกฝน ให้รู้ และเชี่ยวชาญ เพราะการยิ่งเรียนรู้มากก็ยิ่งมีความรู้มาก เมื่อมีความรู้มากก็มีคนให้คำแนะนำปรึกษามากขึ้น มีคนนิยม เชื่อถือมากขึ้น
นิยมความสำเร็จ ความเชื่อมั่นก็เหมือนกับไฟชีวิตที่ทำให้เรามีพลังในการทำสิ่งต่างๆ กระตือรือร้น และ มีทัศนคติที่ดีในการทำสิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม ไฟก็อาจจะมอดได้เป็นบางครั้ง ดังนั้น การเพิ่มเชื้อไฟให้แก่ตนเองเป็นระยะจะทำให้เรามีพลังในชีวิตได้ตลอดเวลา การเป็นคนนิยมความสำเร็จ จะทำให้เราตั้งใจทำสิ่งต่างๆด้วยความตั้งใจ และ อยากทำให้ดีที่สุดนั่นเอง

หลักการในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
สร้างบุคลิกที่ดีให้แก่ตนเอง บุคคลที่ฉลาดย่อมคิดเสมอว่า ตนเองนั้นยังบกพร่องอยู่ และขยันเรียนรู้ รวมทั้ง ขยันปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา บุคลิกภาพเป็นกุญแจสำคัญที่จะใช้ในการติดต่อกับผู้อื่น เป็นองค์ประกอบสำหรับความสำเร็จในชีวิต การแต่งกายที่สะอาด การเคลื่อนไหวในอิริยาบถที่น่าดูจะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เห็น และ ทำให้เราดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
คิดในทางบวก สิ่งที่คนอื่นพูดอาจจะเป็นข้อมูลหรือเป็นประโยชน์กับเราได้ ถ้าเรามองในด้านดี การเป็นคนคิดในทางบวก เป็นการป้องกันอันตรายทางความคิดที่จะเกิดกับตัวเราในอนาคต เพราะในสังคมปัจจุบัน เป็นไปได้ว่า เราเองต้องเจอกับเหตุการณ์ คน หรือ สิ่งที่ไม่คาดคิดมากมาย ถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย ทุกอย่างรอบตัวก็ดูจะแย่ และ อาจจะหมดกำลังใจได้โดยง่าย ทำสิ่งใดๆ ก็จะไม่อยากทำ แต่ถ้ามองโลกในแง่ดี คิดทางบวก เราจะพยายามหาทางออกในทุกทางหรือ ทุกปัญหาที่เราเจอฝึกจิตใจให้สงบ และ อารมณ์เย็น เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่สงบเมื่อถึงคราวต้องสงบ และ กระตือรือร้นเมื่อต้องกระตือรือร้น การฝึกสมาธิ หรือ การสร้างพลังใจให้แก่ตนเอง โดยการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ภายใน ย่อมส่งผลให้เรามีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
รู้จักวางตัว รู้จักการวางตัวในแต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคล ได้อย่างดีและเหมาะสม จะยิ่งทำให้เราเป็นผู้มีเสน่ห์ และ มีมารยาท เรื่องนี้ สามารถฝึกกันได้ ซึ่งถ้าต้องเข้าสังคมระดับสูง มารยาทการทานอาหาร อาจต้องเป็นพิธีการมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ เราอาจจำเป็นต้องอาศัยการฝึกอบรมเพิ่มเติม
แต่ถ้าเป็นทั่วไปๆ เราก็สามารถใช้หลัก ใจเขาใจเรา คือ การคิดก่อนถาม และ ฝึกเป็นคนเข้าหา มีมารยาท รู้จักการให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส และ เป็นนักฟังที่ดี รับรองได้ว่า เราก็จะจัดได้ว่า เป็นคนที่วางตัวเป็นคนหนึ่งทีเดียว

การเผชิญหน้าความจริงกับความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1.       จงเผชิญหน้ากับบุคคลนั้น ก็ต่อเมื่อคุณห่วงใยบุคคลนั้นจริง ๆ เท่านั้น
2.        จงพบปะกันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้(เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น) 
3.   จงแสวงหาความเข้าใจกัน โดยไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกัน  
 4.        จงคิดถึงโครงเรื่องของสิ่งที่จะคุยกัน
5.        จงหนุนใจให้เกิดการสนองตอบ
6.  จงตกลงในแผนการปฏิบัติร่วมกัน  
วิธีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
หัวไหล่มักจะห่อเข้า ไม่มีลักษณะอกผายไหล่ผึ่งเยี่ยงชายชาติทหาร ทำให้หายใจไม่สะดวก เพราะการขยายของทรวงอกถูกจำกัดโดยการห่อไหล่หรือก้มตัวหลังค่อม ซึ่งจะทำให้ปวดหลังได้เมื่อยู่ในท่านั้นนาน ๆ
มือทั้งสองจะอยู่ไม่สุข ถ้ามีดินสออยู่ในมือจะหมุนไปมา จนทำให้ผู้สนทนาด้วยตาลาย บิดผ้าเช็ดหน้า ทำให้ดูเคอะเขิน หรือฉีกกระดาษ หักไม้จิ้มฟัน ไม้ขีดไฟ ทำให้มองดูไม่สง่า และอาจทำให้เข้าใจผิดว่า ไม่สนใจผู้ที่กำลังพูดคุยอยู่ด้วย
การนั่ง มักจะนั่งไม่เต็มที่นั่งเก้าอี้ แทนที่จะพิงที่พนักพิงของเก้าอี้ หรือนั่งตัวตรง จึงทำให้กล้ามเนื้อหลัง ต้องเกร็งตัวมากตลอดเวลา ในรายที่ปวดหลังทำให้ปวดหลังทำให้ปวดหลังมากขึ้น และเมื่ออยู่ท่านั่งนี้นานๆ จะรู้สึกปวดเมื่อยทั้งตัว และเจ็บปวดที่บริเวณก้นมาก เพราะนั่งอยู่บนกระดูกก้นกบ แทนที่จะนั่งอยู่บนปุ่มของกระดูกเชิงกราน หลังจะเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง
การยืนจะมีฐานที่แคบมาก คือ ขาทั้งสองมักจะชิดเกินไป กล้ามเนื้อหุบขาเกร็งแข็ง หัวเข่างอไม่ตรง หลังค่อม ทำให้ต้องใช้กำลังกล้ามเนื้อของขาและหลังมาก
นอกจากนี้ การเข้าหากลุ่มสนทนา ยังไม่รู้จะเข้าหาอย่างไร เขาจะปฏิเสธที่จะคุยกับเราหรือไม่ จึงเกิดลักษณะเดินสะเปะสะปะ ไม่มีเป้าหมาย หรือเดินชนโต๊ะสะดุดเก้าอี้ ยิ่งกลายเป็นจุดเด่น หรือคิดเอาเองว่า ผู้อื่นคงจะตำหนิตนเอง ยิ่งทำให้เกิดอาการกระวนกระวายมากขึ้น พยายามหลบหลีออกจากงานเพราะเกิดความเครียดมาก ทำให้ทุกครั้งที่กลับจากงานเลี้ยงเกิดภาวะอาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ อ่อนเพลียทั้งตัว จึงหลีกเลี่ยงการไปงานเลี้ยงต่าง ๆ ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความไม่มั่นใจมากขึ้น
ดังนั้น เราต้องพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี